คำแนะนำการทำแบบทดสอบ
แบบทดสอบเป็นแบบทดสอบแบบปรนัย (Multiple Choice Question , MCQ) ประเภทผู้ตอบเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว (One Best Answer) โดยมีแบบทดสอบทั้งสิ้น 10 ข้อ ซึ่งผู้ตอบจะต้องทำแบบทดสอบให้ถูกต้องทั้ง 10 ข้อ จึงจะสามารถสั่งพิมพ์ใบรับรองได้ด้วยตนเอง
การใช้ปุ่มคำสั่ง
คลิกปุ่มนี้เมื่อทำแบบทดสอบเสร็จทั้ง 10 ข้อ หากคำตอบถูกต้องครบสมบูรณ์ทั้ง 10 ข้อ โปรแกรมจะผ่านไปหน้าสั่งพิมพ์ใบรับรอง ถ้าผู้ตอบทำแบบทดสอบบางข้อผิดโปรแกรมจะแจ้งเตือนให้ผู้ตอบทราบว่าผิดข้อใดบ้าง ซึ่งผู้ตอบสามารถแก้ไขได้และคลิกปุ่ม หากถูกต้องครบสมบูรณ์ทั้ง 10 ข้อ โปรแกรมจะผ่านไปหน้าสั่งพิมพ์ใบรับรอง
คลิกปุ่มนี้เมื่อต้องการลบคำตอบทั้งหมดและเริ่มทำแบบทดสอบใหม่
คลิกปุ่มนี้เมื่อต้องการกลับไปศึกษาเนื้อหาบทเรียน
แบบทดสอบเรื่อง อุบัติเหตุและการป้องกันอันตรายในห้องปฏิบัติการ

1. เรื่องความปลอดภัยทั่วไป ข้อใดไม่สมควรทำ
เก็บอาหารและเครื่องดื่มไว้นอกห้องปฏิบัติการ
เทกรดเข้มข้นในตู้ดูดควันเท่านั้น
สวมรองเท้าปิดมิดชิดในการทำปฏิบัติการ
ทิ้งสารเคมีทุกชนิด ผสมลงในขวดทิ้งของเสีย โดยไม่จำเป็นต้องแยกชนิดของของเสีย

2. เมื่อได้ยินสัญญาณเตือนไฟ การกระทำที่ถูกต้องคือ
เดินหาต้นตอของไฟ และพยายามดับไฟ
รีบเก็บรวมรวมสัมภาระทั้งหมดที่มีอยู่ ทั้งที่จำเป็นและไม่จำเป็นแล้วค่อยออกจากตึก
ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ทำงานให้เรียบร้อยก่อนลงจากตึก
รีบใช้ลิฟต์ลงจากตึก

3. เพื่อป้องกันการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร หากอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือสายไฟในห้องปฏิบัติการชำรุด ควรทำอย่างไร
ซ่อมและแก้ไขวงจรเอง เคยเรียนมานานแล้ว
ปิดอุปกรณ์ไว้ ไม่ใช้ ไม่ต้องติดป้ายบอกเพราะทุกคนน่าจะทราบว่าชำรุด
แจ้งอาจารย์ประจำห้องปฏิบัติการ เพื่อดำเนินการต่อ
ลองเสียบใช้ดู อาจไม่เป็นอะไรมากมาย

4. หากอุบัติเหตุขวดกรดแก่เข้มข้นแตก ทำให้กรดกระเด็นโดนผู้ที่ทำปฏิบัติการอยู่ สิ่งที่ไม่ควรทำคือ
ถอดเปลี่ยนเสื้อผ้าที่โดนกรดทันที
ซับกรดและล้างบริเวณผิวที่โดนกรดโดยการผ่านน้ำไหลจำนวนมาก
เอาเบสมาหยดสะเทินกรดบนผิวให้เป็นกลางก่อน แล้วรีบล้างออกด้วยน้ำจำนวนมาก
รีบไปพบแพทย์ทันที

5. หากกระเปาะปรอทของเทอร์โมมิเตอร์แตก ทำให้หยดปรอทหลุดลอดออกมา ควรทำอย่างไร
เอาแท่งแก้วเขี่ยทิ้งลงถังขยะ
เอามือหยิบหยดปรอทใส่ขวดมีฝาปิดมิดชิด รอการกำจัดต่อไป
เอาผงกำมะถันกลบ ก่อนเก็บอย่างถูกวิธีเพื่อรอการกำจัด
ใช้เครื่องมือสุญญากาศดูดเก็บรวมไว้กับขยะอื่นเพื่อรอการกำจัด

6. หากมีด่างกระเด็นเข้าตา ควรทำอย่างไร
ฉีดน้ำอย่างแรงเพื่อชะด่างออกจากตาอย่างรวดเร็ว
หยดกรดอ่อนๆเข้าไปสะเทินด่างในตาก่อน แล้วค่อยล้างออก
ล้างตาด้วยน้ำไหลปริมาณมากๆ แล้วลืมตากว้างๆ ในน้ำ
ไม่เป็นไร ทำปฏิบัติการต่อไป ด่างไม่กัดกร่อนเท่ากรด

7. ข้อปฏิบัติทั่วไป เพื่อป้องกันตัวบุคคลผู้ทำปฏิบัติการจากอุบัติเหตุในห้องปฏิบัติการ คือ
ควรมีแว่นตานิรภัยทุกครั้ง โดยเอาแว่นคาดผมไว้เพื่อป้องกันผมตกมาระดวงตา
สวมเสื้อคลุมปฏิบัติการ แต่ไม่ต้องติดกระดุมด้านหน้า เพราะเมืองไทยอากาศร้อน
สวมรองเท้าหุ้มส้นที่ปิดมิดชิด
เมื่อทำงานกับสารกัดกร่อนหรืออันตราย ไม่จำเป็นต้องใส่ถุงมือยาง เพราะทำให้จับขวดสารไม่ถนัด

8. ผู้ปฏิบัติการต้องทราบข้อมูลสำคัญอะไรบ้าง ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุจะได้ดำเนินการได้ทันที
ตำแหน่งเครื่องดับเพลิงและสัญญาณเตือนไฟที่ใกล้ที่สุด
ตำแหน่ง eye wash และ safety shower ที่ใกล้ที่สุด
ตำแหน่งตู้ยาที่ใกล้ที่สุด
ถูกทุกข้อ

9. ของเสียใดต่อไปนี้ ที่สามารถทิ้งลงถังขยะรวมกับขยะทั่วไป
เกลือโปแตสเซียมไซยาไนด์ที่ทำหก
กระดาษลิตมัสที่ใช้ทดสอบแล้ว
กระดาษกรองที่ใช้กรองสารละลายของแคดเมียม
เศษแก้วที่ยังคงมีสารเคมีติดอยู่

10. ข้อพึงปฏิบัติเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากสารเคมี คือ
เอื้อมมือไปหยิบขวดสารเคมีที่อยู่เหนือศีรษะ
เทกรดแก่หรือเบสแก่ในตู้ดูดควันเท่านั้น
เทตัวทำละลายอินทรีย์จุดเดือดต่ำใกล้ๆ กับ hot plate
ไม่จำเป็นต้องสวมแว่นตานิรภัยระหว่างการไตเตรต เพราะทำให้เห็นจุดยุติไม่ชัด